สังคม

heading-สังคม

ผู้ประกันตน ม.39 ตรวจสอบรายละเอียดประกันสังคม ทำอย่างไรไม่ให้ขาดสิทธิ

19 พ.ค. 2565 | 13:19 น.
ผู้ประกันตน ม.39 ตรวจสอบรายละเอียดประกันสังคม ทำอย่างไรไม่ให้ขาดสิทธิ

ผู้ประกันตนมาตรา 39 ตรวจสอบรายละเอียดประกันสังคม ทำอย่างไรไม่ให้ขาดสิทธิสิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตน พร้อมเผยวิธีกันลืมส่งเงินสมทบ

ผู้ประกันตนมาตรา 39 เป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจที่จะส่งเงินสมทบ เมื่อออกจากการเป็นผู้ประกันมาตรา 33 ที่ทำงานมีนายจ้าง แต่ต้องการใช้สิทธิประกันสังคมต่อจึงสมัครใจเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ซึ่งหน้าที่ในการนำส่งเงินสมทบจะต้องผู้ประกันตนเอง ไม่ใช่นายจ้างอีกต่อ แต่มักพบว่าผู้ประกันตนมาตรา 39 ถูกตัดสิทธิบ่อย เนื่องจากขาดการนำส่งเงินสมทบ 

 

ผู้ประกันตน ม.39 ตรวจสอบรายละเอียดประกันสังคม ทำอย่างไรไม่ให้ขาดสิทธิ

 

ทั้งนี้ ผู้อำนวยการสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 9 ได้เผยสาเหตุแห่งการสิ้นสภาพของผู้ประกันตนมาตรา 39  มี 5 กรณี ดังนี้


- เสียชีวิต


- ลาออก


- กลับเข้าเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 


- ขาดส่งเงินสมทบติดต่อกัน 3 เดือนติดต่อกัน


- ภายในระยะเวลา 12 เดือน ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โดย ผู้อำนวยการสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 9 ได้เผยว่า 2 กรณีหลังมีค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นการขาดส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือกรณีที่นับย้อนไป 12 เดือน เงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน ทำให้ขาดสิทธิการเป็นผู้ประกันตน


วิธีป้องกันการลืมนำส่งสมทบ เพื่อไม่ให้เสียสิทธิมีดังนี้ 

- ผู้ประกันตน ม.39 ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบของผู้ประกันตนทาง Line สำนักงานประกันสังคม เพื่อรับการแจ้งเตือนกรณีค้างชำระการนำส่งเงินสมทบมาตรา 39 

- สมัครนำส่งเงินสมทบโดยหักผ่านบัญชีธนาคาร

- โทร 1506 หรือโทรสอบถามที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัด สำนักงานเขตพื้นที่ทุกแห่ง ทางเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบให้ได้ว่า เงินสมทบมาตรา 39 ลืมส่งเดือนไหนบ้าง


ส่วนกรณีที่ถูกตัดสิทธิ์การเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 แล้ว แต่อยากกลับมาเป็นผู้ประกันตนอีกครั้ง 

ผู้อำนวยการสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 9 เผยว่าเมื่อผู้ประกันตนขาดส่งเงินสมทบติดต่อกัน 3 เดือน ประกันสังคมจะมีหนังสือแจ้งการสิ้นสภาพความเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ไปยังผู้ประกันตน ซึ่งสามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับหนังสือ พร้อมแสดงหลักฐานการจ่ายเงินสมทบประกอบการอุทธรณ์ ส่วนอีกวิธีที่จะกลับมาเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ก็คือต้องกลับไปเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ก็คือทำงานมีนายจ้าง และเมื่อลาออกจากงานสามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ได้ ภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ลาออกจากงาน

สำหรับวิธีการแจ้งความประสงค์หักเงินสมทบผ่านบัญชีธนาคาร 

ผู้ประกันตนสามารถดาวโหลดแบบฟอร์ม หนังสือยินยอมให้หักผ่านบัญชีเงินฝากธนาคารได้ที่ เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th กรอกข้อมูลพร้อมแนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร นำส่งสำนักงานประกันสังคมใกล้บ้าน โดยมีธนาคารที่เข้าร่วมการหักเงินสมทบผ่านบัญชีธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ,ธนาคารกรุงไทย ,ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารทหารไทยธนชาต , ธนาคารไทยพาณิชย์ ,ธนาคารกรุงเทพ ทั้งนี้ ธนาคารไทยพาณิชย์เพียงธนาคารเดียว ที่ผู้ประกันตนต้องนำแบบฟอร์มหนังสือยินยอมให้หักผ่านบัญชีเงินฝากธนาคารที่ดาวน์โหลดจากสำนักงานประกันสังคมไปติดต่อธนาคารแล้วจึงนำส่งกลับมาที่ประกันสังคม

 

ผู้ประกันตน ม.39 ตรวจสอบรายละเอียดประกันสังคม ทำอย่างไรไม่ให้ขาดสิทธิ

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

แห่อาลัย แอดมินเพจดัง ซิ่งกระบะแต่งซิ่ง เสียหลักชนเสาไฟฟ้าดับ

แห่อาลัย แอดมินเพจดัง ซิ่งกระบะแต่งซิ่ง เสียหลักชนเสาไฟฟ้าดับ

สุดเศร้า เน็ตไอดอลสายซิ่งชาวจีน ขี่ฮาร์เลย์ชนแบริเออร์ ดับสลด

สุดเศร้า เน็ตไอดอลสายซิ่งชาวจีน ขี่ฮาร์เลย์ชนแบริเออร์ ดับสลด

ระวังฝนถล่มวันนี้ พยากรณ์อากาศเตือนหนัก พายุ "วิภา" ส่งผลทั่วไทย

ระวังฝนถล่มวันนี้ พยากรณ์อากาศเตือนหนัก พายุ "วิภา" ส่งผลทั่วไทย

ศทช. ออกแถลงการณ์ กัมพูชาบิดเบือนข้อเท็จจริง ใส่ร้ายทหารไทย

ศทช. ออกแถลงการณ์ กัมพูชาบิดเบือนข้อเท็จจริง ใส่ร้ายทหารไทย

ส่อหายทิพย์ "บิ๊กเต่า" เผยคดีเจ้าอาวาสวัดม่วง เงิน-ทองหาย พบพิรุธ

ส่อหายทิพย์ "บิ๊กเต่า" เผยคดีเจ้าอาวาสวัดม่วง เงิน-ทองหาย พบพิรุธ